ที่ปรึกษาทางบัญชี
พื้นที่ในการรับงาน
ให้บริการรับวางระบบบัญชีทั่วราชอาณาจักร นอกเหนือกรุงเทพฯและปริมณฑลสำนักงานจะคิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พัก ซึ่งทางลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว
บริการให้คำปรึกษาทางด้านภาษีอากร
ปัจจุบันกฎหมายบัญชีและภาษีอากรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากธุรกิจสามารถปฏิบัติตามกฎหมายบัญชีและภาษีอากรที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะช่วยลดประเด็นปัญหาต่างๆ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลเสียหาย และกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งยังไม่ต้องเสี่ยงต่อการเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือความผิดอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
สำนักงานยินดีเสนอบริการและให้คำปรึกษาทางด้านการวางแผนภาษีอากร เพื่อให้เสียภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆที่กฎหมายให้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การวางแผนภาษีอากร
สำนักงานยินดีเสนอบริการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม การวางแผนภาษีธุรกิจเฉพาะ และการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อให้ธุรกิจของท่านมีแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยมุ่งหวังให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียนั้นเป็นจำนวนที่ประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด โดยไม่อาศัยการทุจริตหรือเลี่ยงภาษีอากร
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล
การวานแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นการออกแบบการดำเนินธุรกิจไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับรายการรายได้ รายจ่าย และ กำไรหรือขาดทุน โดยคำนึงถึงประเภทภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติทางภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจนั้นๆ เพื่อความถูกต้อง ครบถ้วนในทุกประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคลและต้องเสียเป็นจำนวนน้อยที่สุด รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด โดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะทำให้ถูกประเมินภาษีย้อนหลังได้
การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลประกอบด้วย
- การวางแผนเพื่อเริ่มกิจการหรือเมื่อเริ่มกิจการใหม่
- การวางแผนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล
- การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลด้านรายได้
- การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลด้านรายจ่าย
- การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลด้านทรัพย์สิน หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจ้าของ
- การวางแผนเกี่ยวกับหน้าที่ทางภาษีได้นิติบุคคล
- การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล
- เพื่อให้การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นจำนวนน้อยที่สุดโดยไม่ใช้การหลีกเลี่ยงภาษีอากร
- เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลในอดีตและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในทุกกรณี โดยมุ่งแก้หรือป้องกันที่สาเหตุแห่งปัญหา
- เพื่อประหยัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถูกต้อง เช่น เบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษี ค่าปรับทางอาญา
- เพื่อใช้สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น
- การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
- การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรที่กำหนดโดยกรมสรรพากร
- เพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและไม่ได้มาตรฐาน
- เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเรียกตรวจสอบภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินสรรพากร
- เพื่อเสริมสร้างระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนเงินได้นิติบุคคล
- ผู้เชี่ยวชาญภาษีอากร
- ฝ่ายจัดการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัท
- ฝ่ายบัญชีและการเงิน
- ฝ่ายการตลาดและการขาย
- ฝ่ายกฎหมาย
- ฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องของบริษัท
ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจที่ต้องการจัดให้มีการวางแผนภาษี
- ปัญหาการปฏิบัติงานต่างๆ ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล ในงานปกติประจำวันผิดพลาดไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมาย อันเนื่องมาจากการไม่เข้าใจทางประมวลรัษฎากร การสับสนทางประมวลรัษฎากร การขาดทักษะหรือประสบการณ์ทางด้านภาษีอากร เช่น
- ความไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการบันทึกการรับรู้รายได้ทางภาษีอากร
- ความไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามเล็กๆ น้อยๆ
- ความไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเอกสารประกอบการลงรายการ
- ความไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้แบบแสดงรายการ
- ความไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานสรรพากร
- ปัญหาการปฏิบัติการในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจตลอดจนการทำสัญญา ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมาย
- ปัญหาความแตกต่างของหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขทางธุรกิจ และบัญชีการเงินกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขภาษีเงินได้นิติบุคคล (ปัญหาบัญชีภาษีอากร)เช่น
- ปัญหาความแตกต่างของเงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้
- ปัญหาความแตกต่างของเงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย
- ปัญหาความแตกต่างของหลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สิน หนี้สิน
- การเปลี่ยนแปลงให้เกิดความหลากหลายทางธุรกิจ เช่น
- ต้องการควบหรือรวมบริษัท
- ต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
- ต้องการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
- ต้องการผู้ร่วมลงทุนรายใหม่
- ต้องการความเป็นมาตราฐานสากล
- ปัญหาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรขององค์กรยังเป็นไปอย่างไม่เต็มที่หรือสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็นเช่น
- สิทธิประโยชน์ด้านรายได้หรือการยกเว้นรายได้ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดสิทธิไว้ให้
- สิทธิประโยชน์ด้านรายจ่ายหรือการให้สิทธิประโยชน์รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้นตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดสิทธิไว้ให้
- สิทธิประโยชน์ด้านทรัพย์สินและหนี้สิน ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา การใช้สิทธิเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่เป็นสินค้าคงเหลือ
- ความแตกต่างของรายได้ตาม ภ.ง.ด.50 กับ ภ.พ.30
- ปัญหาการขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย
- ปัญหาการขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีเงินได้นิติบุคคล ระหว่างลูกค้ากับเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร
|